Last updated: 6 ม.ค. 2567 | 1013 จำนวนผู้เข้าชม |
ลมเงียบ ลมปัจจุบัน heart attack
บทความโดย: อาจารย์แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา
บทความนี้เขียนขึ้นแด่ศิษย์หลายๆคนที่จากไปด้วยลมเงียบที่มาเป็นปัจจุบัน
ได้ชื่อว่า”ลมเงียบ” เพราะมันมาอย่างเงียบๆ ไม่จำเป็นต้องมีอาการใดใดเกิดขึ้นก่อนหน้า
ได้ชื่อว่า”ลมปัจจุบัน” เพราะมันมาเป็นปัจจุบันคือมันเกิดขึ้นแบบทันทีทันใดในช่วงเวลานั้น
ได้ชื่อว่า”Heart Attack” เพราะมันโจมตีตรงไปที่หัวใจอย่างเงียบๆในทันทีทันใด
ศิษย์หลายๆคนที่จากไปล้วนยังอยู่ในวัยฉกรรจ์ ร่างกายแข็งแรงเป็นปกติ ไม่มีโรคใดใดทั้งสิ้น
บ้างเป็นนักวิ่ง บ้างเข้ายิมบ่อยๆ บ้างเตะฟุตบอลเป็นประจำ บ้างร่างกายใหญ่โตแข็งแรง
แต่ทุกคนจากไปแบบทันทีทันใด บ้างหลับแล้วไม่ตื่นอีกเลย บ้างฟุบลงแล้วจากไปเลย
จากไปทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ไม่มีอาการเจ็บป่วยใดใดที่แสดงออกมาอย่างชัดเจนให้เห็น
เวลาลมเงียบจะมานั้น จะมาแบบเงียบๆ และมาในแบบปัจจุบันทันที
เวลาจะจากไป ก็ไปในแบบเงียบๆเช่นกัน
ส่วนเวลาที่จะจากไปนั้นเป็นไปได้สองกรณี
- หนึ่งนั้นมาแล้ว ก็จากไปแบบเงียบๆ
- สองนั้นมาแล้ว แต่เอาเราไปด้วยแบบเงียบๆ
ในวิชาการแพทย์แผนไทยนั้นมีระบบวาตะ(ลม)อยู่3ระบบ
1. ลมสมุนาวาตะ คือลมที่อึงอยู่ในช่องท้อง
2. ลมหทัยวาตะ คือลมที่แล่นจากท้องถึงกลางทรวงอก
3. ลมสัตถะกะวาตะ คือลมที่แล่นเข้าจับหัวใจ
อาการหากลมสมุนาวาตะกำเริบ คืออาการอืด เฟ้อ แน่น จุก เสียดในช่องท้อง
อาการหากลมหทัยวาตะกำเริบ คืออาการแน่นหน้าอก จุกอก หายใจไม่เข้าไม่ออก
อาการหากลมสัตถะกะวาตะกำเริบ คืออาการเสียดหัวใจ ดุจดั่งเข็มร้อยเล่มจิ้มแทงไปที่เนื้อหัวใจ
แต่หากปกติลมสมุนาวาตะนั้นจะพัดขึ้นถึงชิวหาสมดมภ์(บริเวณโคนลิ้น)
ดังนั้นอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง จุกท้อง เสียดท้อง แน่นเข้าอก เสียดใต้ราวนมข้างซ้าย
จึงเป็นอาการธรรมดาที่ไม่ธรรมดา เพราะหากมีอาการกำเริบขึ้น
จักกระทบเป็นลำดับไปจนถึงเนื้อหัวใจเป็นที่สุดดังได้กล่าวมาข้างต้นนั้น
ดังนั้นการรับทานยาลมเมื่อเกิดอาการที่ท้อง จึงสำคัญอย่างยิ่งยวด สำคัญเป็นที่สุด
การรับทานยาลมหลังรับทานอาหาร เพื่อช่วยจุดไฟย่อย เพื่อช่วยกระจายกองลมจากการย่อยก็สำคัญเช่นกัน
เมื่อกองลมสมุนาวาตะไม่ก่อโทษ ความปกติก็จะเกิดขึ้นกับอาการทางหทัยวาตะ และสัตถะกะวาตะ
เสมือนเป็นเครื่องป้องกันเป็นโล่เหล็กที่จะลดอัตราเสี่ยงที่จะเกิดอาการลมเงียบมาพรากเราไป
ยาหอมรสออกสุขุมสำหรับกองลมตีขึ้นเบื้องบที่ทำให้เกิดอาการมึน เวียน งง ปวดในศรีษะ
ยาลมรสร้อนสำหรับกองลมในไส้และลมนอกไส้ที่ทำให้เกิดอาการอืด เฟ้อ เรอ เปรี้ยว จุก แน่น มวน เสียด ในช่องท้อง
ยาขมหรือยาเขียว สำหรับผ่อนรูปธาตุไฟที่กำเริบเป็นโทษในอาการร้อนใน ระหายน้ำ ดื่มน้ำไม่รู้อิ่ม ตัวรุมๆคล้ายจะมีไข้ เป็นแผลร้อนในช่องปากบ่อยครั้ง
ยาหอม ยาลม ยาดม ยาหม่อง ยาเขียว ยาขม จึงเป็นตำรับยาประจำบ้าน-ประจำตัว มีแล้วไม่ได้ใช้-ดีกว่าเวลาจะใช้แล้วมันไม่มี