Last updated: 29 มี.ค. 2568 | 71 จำนวนผู้เข้าชม |
ยาหอม~กับอาการแพนิค
โดย : อาจารย์แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา
ต้องเข้าใจก่อนว่ายาลมกับยาหอมนั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง ยาลมมีรสร้อน~สำหรับอาการลมในช่องท้อง ที่หมอไทยเรียกว่าลมในไส้และลมนอกไส้ ส่วนยาหอมมีรสอันสุขุม~สำหรับอาการลมที่ทำให้ปวดหัว เวียนหัว โคลงเคลง มึนหัว ใจสั่น ใจหวิว หมอไทยเรียกว่าลมตีขึ้นบน ใช้ยาผิดเพราะเข้าใจผิดอาจก่อโทษมากกว่าก่อคุณ เช่นอาการที่เกิดขึ้นตอนแผ่นดินไหว ต้องใช้ยาหอมไม่ใช่ยาลม
หมอไทยเรียกอาการ“แพนิค”ว่าเป็นอาการตระหนกตื่นกลัว อาการของแต่ละบุคคลนั้นอาจมีปัจจัยที่มากระตุ้นต่างกันไปให้เกิดอาการ เช่นบางคนเมื่อขับรถ บางคนเมื่ออยู่ในที่ชุมชน บางคนอยู่ในที่แคบ บางคนกระทบจากสถานการณ์รอบข้างให้ตื่นกลัว และปัจจัยอื่นๆอีกมากต่างกันไปในแต่ละบุคคล
อาการแพนิค เป็นอาการที่ใจมากระทบรูป ใจเป็นเหตุ~รูปเป็นผล ก่อให้เกิดอาการต่างๆกัน เช่น มือสั่น ตัวสั่น เหงื่อแตก ใจหวิว ใจสั่น หายใจไม่ออก แน่นในช่องท้อง อาจมีอาการต่างไปจากนี้ได้อีก
เมื่อเหตุมาจากใจ หมอไทยว่าจะเกิดกำเดา(ไอแห่งความร้อน)ภายในร่างกายอย่างกระทันหันเราเรียกว่า“ไฟระส่ำระส่าย” จากนั้นจะส่งผลต่อรูปธาตุลม ให้สำแดงอาการต่างๆกันไป ฉะนั้นตำรับยาที่เราใช้จะอยู่ในกลุ่มยาหอมที่มีรสอันสุขุม ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามอาการได้อีกดังนี้
- อาการปวดหัว มึนหัว เวียนหัว หูอื้อ โคลงเคลง ใช้ยาหอมเทพจิตรารมย์และยาหอมภูลประสิทธิ์
- อาการใจหวิว ใจสั่น กองชีพจรเต้นเร็วแรง ใช้ยาหอมภูลประสิทธิ์
- อาการแน่นเข้าอก หายใจไม่สะดวก เสียดชายโครง ใช้ยาหอมภูลประสิทธิ์ และยาหอมมหาสีสว่าง
- จุกลิ้นปี แน่นใต้ชายโครง ใช้ยาหอมอุดมนพรัตน์และยาหอมมหาสว่างอารมณ์ใหญ่
- แน่นท้อง จุกท้อง มวนในช่องท้อง เสียดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ใช้ยาลมวาโย และยาหอมภูลประสิทธิ์
- ส่วนหากมีอาการต่างจากนี้ ก็มีตำรับยาไทยช่วยบรรเทาต่างกันไป
* แต่ยาพื้นฐาน จะมียาหอมกล่อมอารมณ์ ยาหอมภูลประสิทธิ์ และยาไพสาลี(สำหรับผู้มีอาการมาก)
ในอาการแพนิค ต้องมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยก่อนเท่านั้น ห้ามซื้อยามาทานเองแม้เป็นยาไทยก็ตาม เพราะแพทย์ต้องตามอาการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ และใช้เวลานานในการบำบัดกว่าจะผ่อนหนักเป็นเบาได้
5 มี.ค. 2568
10 ก.พ. 2568
9 มี.ค. 2566