Last updated: 5 ส.ค. 2566 | 1011 จำนวนผู้เข้าชม |
ยาหอมๆด้วยเครื่องหอมที่ไม่หอม
บทความโดย: อาจารย์แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา
สำหรับผู้ที่ไม่เคยรับทานยาหอมที่เข้าเครื่องหอมแบบชั้นดี
แน่นอนว่าอาจจะไม่คุ้นเคยกับกลิ่นและรสชาติของยาหอม
ยาหอมชั้นดีนั้นผ่านขบวนการปรุงที่ละเมียดละไมยิ่ง
ด้วยต้องการสรรพคุณที่รวดเร็วในการบรรเทาอาการนั้นๆ
เครื่องหอม~ที่หอม ประกอบด้วย หญ้าฝรั่น น้ำดอกไม้เทศ และพิมเสนตรังกานู
เครื่องหอม~ที่ไม่หอม ประกอบด้วย ชะมดเช็ด ชะมดเชียง และอำพันทอง
เครื่องหอม~จึงประกอบไปด้วยส่วนของพืชวัตถุ และสัตว์วัตถุ
เครื่องหอม~จะหอมไม่ได้ถ้าไม่มีเครื่องหอมที่ไม่หอม และจะหอมได้ไม่นาน
เครื่องหอม~เป็นสุคนธบำบัด และทำให้ตำรับยาหอมออกฤทธิ์ได้ผ่านทางกลิ่นสัมผัส
ลางคนใช้ยาหอมแต่บอกว่าเหม็น ไม่หอมเหมือนที่เรียกว่ายาหอม
ลางคนบอกว่าหอมแบบชื่นเข้าไปในใจ แค่กลิ่นก็สดชื่นขึ้นแล้ว
ลางคนไม่ชอบรสชาติของยาหอม แต่ถ้าใช้ไปจนคุ้น ที่ไม่เคยชอบจะชอบ
ลางคนใช้เพราะสรรพคุณที่สำแดงผลได้รวดเร็วแม้ไม่ชอบทั้งรสและกลิ่น
ลางเนื้อชอบลางยา โบราณว่าไว้ไม่ผิดเพี้ยนแม้สักนิด
นานาคนก็นานาจิตตัง แม้ยาหอมจะอยู่คู่คนไทยมานานนับหลายร้อยปีก็ตาม
เหตุก็ยังคงเช่นนี้เสมอมาแม้ในปัจจุบัน แต่ผ่านมานานเพียงใดยาหอมก็ยังคงอยู่
ยาลม มีรสอันร้อน สำหรับลมในช่องท้องที่ทำให้ท้องอืด แน่น จุก เสียด
ยาหอม มีรสอันสุขุม สำหรับลมบนศรีษะให้หน้ามืด ตาลาย วิงเวียน โคลงเคลง
ยาลม และยาหอม ก็ยังคงอยู่กับคนไทยไปอีกตราบนานเท่านาน
สำหรับผู้ที่ทนรับกลิ่นและรสชาติของยาลมและยาหอมไม่ได้
ขอแนะว่าให้ไปเลือกทางเลือกอื่นๆตามใจปรารถนา
เพราะตำรับยาลม และยาหอม ไม่สามารถปรับได้กับนานาจิตตัง
ด้วยสรรพคุณและสรรพฤทธิ์ของตัวยาที่อยู่ในตำรับยานั้นๆ
เป็นตถตา คือเป็นเช่นนั้นเอง และจะเป็นตลอดไป